Search for content in this blog.

2554-06-07

Re: [Knowledge:Life Insurance] ประวัติการประกันชีวิตในต่างประเทศ

เมื่อ 5 มิถุนายน 2554, 12:13, NinE_PhuM <ninephoom@gmail.com> เขียนว่า:
> ประวัติการประกันชีวิตในต่างประเทศ
>
> ในระยะแรก
> การประกันชีวิตถูกมองว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชีวิตของมนุษย์อย่างไร้ศีลธรรม
> และในหลายประเทศได้ออกกฎหมายห้ามการดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะในฝรั่งเศสก่อนปี
> พ.ศ. 2363 และอิตาลีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19
> แต่ในอังกฤษไม่มีการห้ามดำเนินกิจการดังกล่าว
> นักทฤษฎีและนักคณิตศาสตร์ในภาคพื้นยุโรปจำนวนมากได้อุทิศตนในการพัฒนาความรู้ด้านประกันชีวิต
> จอห์น แกรนด์ ได้รวบรวมสถิติการตายเนื่องจากกาฬโรค และในปี พ.ศ. 2204
> ได้พิมพ์หนังสือชื่อ "ธรรมชาติและข้อสังเกตทางการเมือง"
> ผลงานดังกล่าวถือว่าเป็นการแสดงตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการประกันชีวิตเป็นครั้งแรก
>
> Edmund Hally นักคณิตศาสตร์ได้ศึกษาสถิติการตายในเมือง Breslau ในระหว่างปี
> พ.ศ. 2230 - 2234 และได้พิมพ์ผลงานชื่อ "สถิติมรณกรรมในเบรสเลาว์" โทมัส
> ซิมป์สัน ได้พิมพ์ ผลงานเรื่อง "ธรรมชาติและกฎการเปลี่ยนแปลง" ในปี พ.ศ. 2283
> เรื่อง "ข้อกำหนดเบี้ยประกันรายปีและการลดอัตราการจ่ายกรณีตาย" ในปี 2385
> แนวความคิดในวิชาการด้านประกันชีวิตของ ซิมป์สัน
> กว้างและชัดเจนยิ่งกว่าผลงานของบุคคลอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น
>
> ระยะแรกของการประกันชีวิต Richard Martin กับพวกได้เสนอแนวทางที่เกี่ยวกับ
> การประกันชีวิตเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2079
> กล่าวโดยสรุปก็คือหากผู้เอาประกันถึงแก่ความตายภายใน 12 เดือน
> ผู้รับประกันจะจ่ายเงินเป็นจำนวน 400 ปอนด์ ต่อมาได้มีคดีขึ้นสู่ศาลว่า คำว่า
> 12 เดือนนั้น หมายถึง เดือนทางจันทรคติ หรือตามปฏิทิน
> ศาลได้ตัดสินเอาความผิดกับผู้รับประกัน เนื่องจากสัญญาประกันภัยเคลือบคลุม
> แนะแนวทางคำพิพากษาดังกล่าวยังใช้กันอยู่จนทุกวันนี้
>
> ในปี พ.ศ. 2241 บาทหลวง William Assheton
> ได้วางโครงการก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตชื่อบริษัทเมอเซอร์ในลอนดอน
> โดยจุดประสงค์เพื่อเป็นการให้ประโยชน์ต่อแม่หม้ายในปีต่อมา
> ก็มีองค์การในลักษณะคล้ายกัน ภายใต้ชื่อว่า "สมาคมเพื่อแม่หม้าย"
> แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความจริงที่ว่า
> ยังไม่ได้มีการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการตายอย่างถูกต้อง
> อันจะเป็นกฎเกณฑ์ของการดำเนินการขององค์การต่าง ๆ ตามมาตรฐานของการประกันชีวิต
> ศาสตราจารย์ James L. Athearn ได้กล่าวว่า
> สมาคมดังกล่าวเป็นองค์การแรกของการประกันชีวิต
>
> องค์การที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตอีกองค์การหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากในอังกฤษคือ
> "สมาคมมิตรสัมพันธ์เพื่อการประกันภัย" ซึ่งก่อตั้งใน พ.ศ. 2249
> และต่อมาได้รวมอยู่ในสหภาพ นอร์ วิชในปี พ.ศ. 2409
> องค์การนี้ได้โฆษณากิจการต่อสาธารณชน ดังนั้น
> อาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เสนอความรู้เกี่ยวกับการใช้ประกันชีวิตต่อสาธารณชน
>
> บริษัทประกันชีวิตซึ่งเก่าแก่และยังดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบันนี้คือ
> "สมาคมเพื่อการประกันชีวิตที่เสมอภาค" (The Society for the Equitable
> Assurance of Lives and Survivorship) หรือที่เรียกว่าว่า "Old Equitable"
> ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2305 โดย Thomas Simpson และด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจาก
> Edward Rowe Mores อย่างไรก็ดี สมาคมนี้ได้เริ่มต้นก่อนหน้านั้น โดย โทมัส
> ซิมป์สัน และ เจมส์ ดิคสัน ในปี พ.ศ. 2229 แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ
> จนหลังเจมส์ ดิคสัน ตายลง โทมัส จึงได้ดำเนินการต่อมา จนสมาคมก่อตั้งขึ้นได้
> สำหรับการคำนวณเบี้ยประกัน ได้คิดจากอายุของผู้เอาประกันและระยะเวลาที่คุ้มครอง
> การยื่นขอเอาประกันต้องทำเป็นหนังสือ และระบุข้อมูล 2 ประการคือ สถานะทางสุขภาพ
> รวมทั้งอาชีพและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกัน
> องค์การนี้ได้ใช้ประโยชน์จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์
> ในอันที่จะกำหนดตารางเกี่ยวกับอัตราการตาย นับแต่ก่อตั้งองค์การนี้
> ธุรกิจการประกันชีวิตได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจนปัจจุบัน
>
> แบบของการประกันชีวิต
>
> มีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป
> แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ
>
> แบบสะสมทรัพย์
> คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย
> ให้แก่ผู้เอาประกันภัยใน 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ (1)
> เมื่อผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา หรือ (2)
> เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัยก่อนวันครบกำหนดสัญญา
> ตัวอย่างเช่น ผู้เอาประกันภัยซื้อประกันชีวิตเมื่ออายุ 40 ปี
> จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท กำหนดอายุสัญญา 20 ปี
> (กรมธรรม์สิ้นสุดเมื่อผู้เอาประกันภัยอายุ 60 ปี) ภายใต้เงื่อนไขนี้ (1)
> หากผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 60 ปี บริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย
> 200,000 บาท ให้ผู้เอา ประกันภัยหรือ (2)
> หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในปีใดปีหนึ่งก่อนอายุครบ 60 ปี บริษัทจะต้องจ่าย
> จำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์จำนวน 200,000 บาท
>
> เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา
> หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย
> ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย
> การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์
> ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด
>
> แบบตลอดชีพ คือสัญญาประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยตลอดชีวิต โดย
> บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
> เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
> หรือในกรณีพิเศษที่ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตยืนยาวจนถึงอายุ 99 ปี
> บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายจำนวนเงิน เอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
>
> เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ
> ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ
> บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์
> วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
> หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ
> ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น
>
> แบบชั่วระยะเวลา
> คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย
> ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาเอาประกันภัย
> ตัวอย่างเช่น ผู้เอาประกันภัย อายุ 40 ปี ทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา กำหนด
> 10 ปี ต่อมาปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อ อายุ 45 ปี
> ซึ่งยังอยู่ในอายุสัญญา
> บริษัทจะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ แต่หาก
> ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบกำหนดสัญญาแล้ว (อายุ 50 ปี)
> ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับเงินคืนจากบริษัท
>
> เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย
> วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
> การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น
> ๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา
>
> แบบเงินได้ประจำ
> คือสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินงวดเท่าๆกันทุก
> เดือนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตลอดชีพ หรือในระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี หรือ
> 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ เอาประกันภัยเกษียณอายุ
> หรือตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
>
> เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน
> นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป
> แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้
> สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
>
> 6.1.7.2 การประกันวินาศภัย (Non - Life Insurance)
>
> สัญญาประกันวินาศภัย คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน
> ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นในอนาคต
> และในกรณีนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า "เบี้ยประกันภัย"
>
> สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
> กล่าวคือเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเท่าใดก็ชดใช้เท่านั้น
> คือชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้
> เช่น บ้านหลังหนึ่งราคา 700,000 บาท เอาประกันภัยไว้ 700,000 บาท
> ต่อมาเมื่อบ้านหลังนั้นเกิดไฟไหม้เสียหายบางส่วนตีราคาได้ 250,000 บาท
> ผู้รับประกันก็จะชดใช้ให้ 250,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริง
> แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเกิดไฟไหม้เสียหายหมด ผู้รับประกันก็จะชดใช้ 700,000บาท
>
> ประกันอัคคีภัย
>
> ประวัติของบริษัทประกันอัคคีภัยได้เริ่มต้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน
> เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2209 เป็นเวลานานถึง 5 วัน
> ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล และประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
> นอกจากนี้การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุโรปเป็นเหตุให้เกิดการผลิตเครื่องจักร
> และทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ท่าเรือและอู่จอดเรือ
> สิ่งเหล่านี้เป็นมูลเหตุให้การประกันอัคคีภัยเจริญก้าวหน้าขึ้น
> เพราะประชาชนและนายทุนอุตสาหกรรมสำนึกถึงภัยอันเกิดจากอัคคีภัยและความจำเป็นของการมีประกันภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของตนในปีถัดมาคือ
> พ.ศ. 2210 Dr. Nicholas Barbon ได้ตั้งสำนักงานรับประกันอัคคีภัยเป็นครั้งแรก
> ตั้งชื่อง่ายๆ ว่า "The Fire Office" พอปี พ.ศ. 2229 Dr. Barbon
> ได้รับผู้อื่นมาเป็นหุ้นส่วนเพื่อร่วมเสี่ยงภัยซึ่งก่อนนี้เขารับเสี่ยงภัยอยู่เพียงผู้เดียว
> สามปีต่อมาก็มีสำนักงานประกันภัยขึ้นเป็นคู่แข่ง "The Friendly Society"
> ชื่อสำนักงานทั้งสองแห่งนี้ได้ออกกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
> และตั้งกลุ่มพนักงานดับเพลิงขึ้น
> เพื่อช่วยในการดังไฟที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่รับประกันภัยไว้
> สำนักงานรับประกันอัคคีภัยในระยะแรกไม่ได้เป็นรูปบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นมากมาย
> แต่เป็นเพียงกิจการส่วนบุคคลหรือหุ้นส่วนที่รับประกันคุ้มครองอาคารซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย
>
> อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็มีบริษัทประกันอัคคีภัยชื่อ "The sun Insurance
> office of London" ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2253
> และเริ่มมีจำนวนบริษัทรับประกันอัคคีภัยเพิ่มขึ้นตามความเจริญของอุตสาหกรรม
> แต่บริษัทเหล่านี้มิได้เจริญมาด้วยความราบรื่น
> การแข่งขันในระหว่างบริษัทเกี่ยวกับการลดราคาเบี้ยประกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นร่วมมือกันเพื่อวางอัตราเบี้ยประกันให้เป็นไปในระดับเดียวกัน
> ต่อมาเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2385
> จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมการประกันอัคคีภัยขึ้นในปี พ.ศ. 2403
> เรียกว่า Fire Office Committee (F.O.C.)
> เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน
>
> เพื่อเป็นการตอบแทนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระให้แก่บริษัทในการเอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
> บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยว่าหากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย
> เนื่องจาก
>
> 1) ไฟไหม้ แต่ไม่รวมถึงความเสียหาย
>
> 1.1 จากแรงระเบิด อันเป็นผลมาจากไฟไหม้
> เว้นแต่แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย
>
> 1.2 โดยตรงหรือโดยอ้อมจากแผ่นดินไหว
>
> 1.3 ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจาก
>
> 1.3.1 การบูดเน่าหรือการระอุตามธรรมชาติ หรือ
> การลุกไหม้ขึ้นเองเฉพาะที่เกิดจากตัวทรัพย์สินนั้นเองเท่านั้น หรือ
>
> 1.3.2 การที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างกรรมวิธีใด ๆ
> ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
>
> 2) ฟ้าผ่า
>
> 3) แรงระเบิดของแก๊ส
> ที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น
> แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สจากแผ่นดินไหว
>
> 4) ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษ ที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย
>
> ในระหว่างระยะเวลาที่ได้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุในตารางกรมธรรม์ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงต่ออายุสัญญาประกันภัยด้วย
> (หากมี)
> บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงในขณะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
> หรือเลือกที่จะทำการสร้างให้ใหม่ หรือซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม
> หรือจัดหทรัพย์สินมาทดแทนทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด หรือบางส่วน
>
> ความรับผิดของบริษัทภายใต้กรมธรรม์ฉบับนี้จะไม่เกิน
>
> 1) จำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ทั้งหมด
> หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามรายการแต่ละรายการในขณะที่เกิดความเสียหาย
>
> 2)
> จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่ภายหลังจากหักมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาที่เอาประกันภัยเดียวกัน
> เว้นแต่บริษัทได้เคยตกลงไว้ก่อนแล้วในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
> ให้จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่นั้นกลับเต็มจำนวนดังเดิม
> โดยผู้เอาประกันภัยตกลงที่จะชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม
>
> เงื่อนไขทั่วไปในการรับประกันภัย
>
> กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครอง
>
> 1) ความเสียหายซึ่งเกิดจากสงคราม การรุกราน
> การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม
> ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ
> การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติ
> การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใด ๆ
> ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
>
> 2) ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรง หรือโดยอ้อมจากสาเหตุดังนี้
>
> 2.1 การแผ่รังสี
> หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือจากกากนิวเคลียร์ใด ๆ
> อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
>
> 2.2 การระเบิดของกัมมันตรังสี หรือส่วนประกอบของนิวเคลียร์
> หรือทรัพย์อันตรายอื่นใดที่อาจเกิดการระเบิดในกระบวนการนิวเคลียร์ได้
>
> 3)
> ความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล
> หรือกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่ง ยกเว้นความเสียหายส่วนเกินกว่าจำนวนเงิน
> ซึ่งจะได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวนั้น
>
> 4) ทรัพย์สินต่อไปนี้
> เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
>
> 4.1 สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
>
> 4.2 เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ หรืออัญมณี
>
> 4.3 โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
>
> 4.4 ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ
> หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์
>
> 4.5 หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์
> เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด ๆ
>
> 4.6 วัตถุระเบิด
>
> 4.7 ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า
> อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
> ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง
> หรือได้รับกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร
> รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
> เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว
>
> 5) ความเสียหายต่อเนื่องใด ๆ
> ทุกชนิดเว้นแต่การสูญเสียรายได้จากค่าเช่าที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ว่าได้รับความคุ้มครอง
>
> 6) ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สิน โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่
> หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
>
> ประกันรถยนต์
>
> ความหมาย การประกันภัยรถยนต์มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้
>
> 1. การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งในที่นี้ซึ่งเรียกว่า
> "ผู้เอาประกันภัย"ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไปให้บุคคลไปให้
> อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับประกันภัย"
> รับเสี่ยงภัยแทนโดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้
> รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยนั้น
> ซึ่งเงินจำนวนนี้ เรียกว่า "เบี้ยประกันภัย"
> เมื่อผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยแล้ว หากรถยนต์คัน
> ที่เอาประกันภัยไว้ได้เกิดอุบัติเหตุ
> ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์หรือแก่ชีวิต
> ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลทั้งภายนอกและที่โดยสารอยู่ในรถยนต์คันนั้นผู้
> เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เรียกว่า
> "ค่าสินไหมทดแทน"โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เท่ากับจำนวน
> ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้
> ซึ่งเงินจำนวนเงินที่ตกลงทำสัญญาไว้ เรียกว่า"จำนวนเงินเอาประกันภัย"
> (หนังสือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
>
> 2. การประกันภัยรถยนต์
> หมายถึงการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคล
> รถบรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่
> ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย
> หรือสูญหายของตัวรถยนต์
> นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต
> ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
> รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วยโดยบริษัทหรือผู้รับประกันภัยจะ
> ออกหนังสือให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเรียกว่า "กรมธรรม์ประกันภัย "
> หรือหลักฐานของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุว่าบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่
> ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้
> ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยแต่ละรายก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่
> บริษัทประกันภัยตามอัตราความเสี่ยงของตน (หนังสือการประกันภัย บุษรา อึ๊งภากรณ์
> )
>
> การประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ
> การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
>
> การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยที่ใครอยากทำก็ทำ
> ไม่มีการบังคับกัน
> การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ
> (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย)
> โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการและกำลังเงินที่มีอยู่
> และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ทำประกันภัยที่ขับรถดี มีความระมัดระวัง
> ในการขับขี่และมีความเสี่ยงภัยในการใช้รถต่ำ
> กรมการประกันภัยจึงได้ปรับปรุงโครงสร้าง การประกันภัยรถยนต์ใหม่
> ให้สอดคล้องกับระบบสากลโดยนำเอา ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ ลักษณะการใช้รถ
> กลุ่ม ขนาด และอายุรถ ฯลฯ มาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกันภัย
>
> ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ การประกันภัยรถยนต์ มีความคุ้มครองให้เลือก
> 3ประเภทคือ
>
> ประเภท 1 (ชั้น 1) ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด คือ
>
> - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
>
> - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
>
> - ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
>
> - ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
>
> ประเภท 2 (ชั้น 2) ผู้ทำประกันภัยประเภทนี้จะได้รับความคุ้มครอง คือ
>
> - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
>
> - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
>
> - ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
>
> ประเภท 3 (ชั้น 3)
> ซึ่งเป็นประเภทที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนี้
>
> - ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
>
> - ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
>
> โดยสรุปของความคุ้มครอง มีดังนี้
>
> 1. การประกันประเภท 1 ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ และต่อบุคคลภายนอก
> (ทั้งบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)
>
> 2. การประกันประเภท 2 ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
> และความสูญหาย/ไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (ทั้งตัวบุคคล
> และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)
>
> 3. การประกันประเภท 3 ให้ความคุ้มครองความเสียหายเฉพาะต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น
> (ทั้งตัวบุคคล และทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย)
>
> การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "ประกัน พ.ร.บ."
> การประกันภัยชนิดนี้ เป็นการประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท
> ต้องทำประกันภัย ใครไม่ทำมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
> พ.ศ. 2535 ต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
> การประกันภาคบังคับจะให้ความคุ้มครองความรับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
> พ.ศ. 2535 ในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย
> หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใครก็ตาม
> ดังนี้
>
> 1. กรณีบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ
> ชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
>
> 2. กรณีบาดเจ็บ ถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต
> ชดใช้เต็มจำนวนความคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท
>
> วัตถุประสงค์หลัก
>
> เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับ
> ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
> และค่าเสียหายเบื้องต้นอย่าง ทันท่วงที
> และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน
>
> รถที่ต้องทำประกันภัย
>
> คือ รถทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
> เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลัง
> เครื่องยนต์และหมายรวมถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย
>
> ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง
>
> ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า
> คนข้ามถนน ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย
> เนื่องจากรถหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งไว้ในรถ
> ทั้งนี้รวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย
> โดยจะได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายนี้ทั้งสิ้น
>
> ผู้มีสิทธิทำประกันภัยรถยนต์
>
> ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
> หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตัวรถยนต์คันที่เอาประกันภัย
> ปัจจัยสำคัญในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์
>
> ลักษณะของการใช้รถยนต์เป็นตัวกำหนดความเสี่ยงภัย
> รถยนต์รับจ้างย่อมมีความเสี่ยงภัยมากกว่ารถยนต์เพื่อใช้ในการพาณิชย์
> หรือส่วนบุคคล
>
> ชนิด/ขนาด และอายุของรถยนต์ (โดยเฉพาะยี่ห้อ และรุ่นของรถยนต์นั่งไม่เกิน 7
> ที่นั่ง อัตราเบี้ยประกันภัย จะขึ้นอยู่กับราคาอะไหล่ และค่าซ่อมเป็นตัวกำหนด)
>
> อายุของผู้ขับขี่
> สำหรับส่วนลดเบี้ยประกันภัยในการประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ของรถยนต์นั่ง
> รถยนต์โดยสาร และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยระบุได้ไม่เกิน 2 คน
>
> จำนวนเงินเอาประกันภัย หรือทุนประกันภัย
>
> ประกันทางทะเล
>
> สัญญาประกันภัยทางทะเลเป็นสัญญาระหว่างผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย
> โดยผู้รับประกันภัยตกลงที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย
> เมื่อวัตถุที่เอาประกันภัยได้เกิดวินาศภัยทางทะเลขึ้น
> และผู้เอาประกันภัยตกลงชำระเบี้ยประกันภัยแก่ผู้รับประกันภัยเป็นการตอบแทน
>
> คู่สัญญาตามสัญญาประกันภัยทางทะเล ก็คือ ผู้เอาประกันภัย (Assured) กับ
> ผู้รับประกันภัย (Insurer /Underwriter)
> โดยผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย
> ส่วนผู้รับประกันภัยก็คือบุคคลซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย
> เมื่อวัตถุที่เอาประกันเกิดวินาศภัยทางทะเลขึ้น
>
> ในสัญญาประกันภัยทางทะเล
> ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย
> เมื่อวัตถุที่เอาประกันเกิดวินาศภัยทางทะเลตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน
> โดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนี้ต้องเป็นไปตามความเสียหายที่แท้จริง
> แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัย
>
> ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
>
> (1) การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance):
> คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ,
> เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น
> และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย
>
> (2) การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance):
> คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล
> ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้
>
> บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้
>
> ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น
> เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น
> ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย
> ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้
>
> การประกันภัยทางทะเล
> เป็นการประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล
> และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก
> ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย
>
> ประกันเบ็ดเตล็ด
>
> ก. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
>
> การทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เช่น
> การประกันอัคคีภัยการประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด เมื่อเกิดความสูญเสีย
> หรือเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว
> ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
> เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
> หรือผู้รับประกันภัย อาจชดใช้เป็นเงินสด หรือโดยการซ่อมแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม
> หรือสร้างให้ใหม่ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
>
> โดยหลักการแล้วการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
> เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียในทางการค้า (รายได้ของผู้เอาประกันภัย)
> เมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงักลง
> อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน
> ที่เอาประกันภัยไว้และเป็นทรัพย์สิน ที่มีผลต่อการค้าของ ผู้เอาประกันภัย
> วัตถุประสงค์ของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักคือ เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัย
> กลับสู่สถานะทางการเงินดังเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีอัคคีภัยหรือภัยอื่นๆ
> ที่เอาประกันภัยเกิดขึ้น
>
> ข. การประกันสุขภาพ
>
> การประกันสุขภาพ คือ
> การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
> จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย
> ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย
> หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย
>
> ค. การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง
>
> การประกันภัยการเดินทาง
> เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยหากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุ
> และผลของอุบัติเหตุนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภั